เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนและกระบวนการในการเป็นผู้ผลิต (ข้าว)
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
23 -27
พ.ค.
2559
|
โจทย์ : ออกแบบการเรียนรู้
- สิ่งที่อยากรู้/สิ่งที่รู้แล้ว
- วางแผนการเรียนรู้
Key
Questions :
- นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากรู้เรื่องอะไรบ้างในหน่วยที่ตนเองสนใจ?
- “ถ้านักเรียนต้องเลือกพันธุ์ข้าวที่ปลูก
4 เมล็ดให้ได้ผลผลิตมากที่สุด
และใช้น้ำน้อยที่สุด จะเลือกอย่างไร?”
เครื่องมือคิด
- Brainstorm ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิงที่รู้แล้วและอยากรู้
- Show and Share การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และขั้นตอนการปลูกข้าว
- Mind Mapping ก่อนเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เมล็ดข้าวเปลือก
- บรรยากาศในชั้นเรียน
|
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
“นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากรู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับอาหารต่างๆ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้และอยากรู้ และช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ลงบนกระดาษแผ่นใหญ่
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
“นักเรียนรู้อะไรบ้างแล้วเกี่ยวกับอาหาร?”
ใช้ : นักเรียนเขียน Mind
Mapping ก่อนเรียน
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูนำข้าวเปลือกพันธุ์ต่างๆ
ให้นักเรียนสังเกต พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
เชื่อม : นักเรียนเขียนความเหมือนและแตกต่างของข้าวที่สังเกต
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“ถ้านักเรียนต้องเลือกพันธุ์ข้าวที่ปลูก 4
เมล็ดให้ได้ผลผลิตมากที่สุด และใช้น้ำน้อยที่สุด จะเลือกอย่างไร?”
เชื่อม :
นักเรียนจับคู่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้าวแต่ละสายพันธุ์
และวิธีการปลูกข้าว ออกแบบการนำเสนอ
วันศุกร์
เชื่อม : นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ได้ค้นหามา สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และขั้นตอนการปลูกข้าว
ใช้ : นักเรียนคัดเลือกเมล็ดข้าวที่จะปลูก
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผ่านชิ้นงานตามรูปแบบความสนใจ เช่น
ชาร์ตข้อมูล ภาพ Mind
mapping ฯลฯ
|
ภาระงาน :
- สนทนาแลกเปลี่ยน วิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำมาปรับใช้ในการปลูกข้าว
- คัดเลือกพันธุ์ข้าว
ชิ้นงาน :
- Mind Mapping ก่อนเรียน
- ชาร์ตความรู้การคัดเลือกพันธุ์ข้าวและขั้นตอนการปลูกข้าว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนและกระบวนการในการเป็นผู้ผลิต (ข้าว)
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะชีวิต - ใช้อุปกรณ์ในการค้นหาข้อมูลและสร้างชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการปลูกข้าวได้
ทักษะการสื่อสาร
-
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ได้
- นำเสนอการคัดเลือกเมล็ดข้าวและขั้นตอนการปลูกข้าวได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากความรู้เดิมที่มีและสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ: - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
ภาพกิจกรรม
นักเรียนเลือกหน่วยการเรียนรู้ ตั้งชื่อหน่วย และเขียนสิ่งที่รู้แล้ว อยากรู้ Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้ จับคู่ออกแบบปฏิทิน นำเสนอเพื่อวางแผนร่วมกัน
|
สังเกตเมล็ดข้าว และคัดเลือกเมล็ดพันธ์ุ คนละ 2 เมล็ด
(ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า)
"ทำไมข้าวเจ้าเมล็ดใส แต่สุกแล้วเมล็ดขุ่น?"
"ทำไมข้าวเหนียวเมล็ดขุ่น แต่สุกแล้วเมล็ดใส?"
คัดเลือกเมล็ดพันธ์ุ
|
|
|
เตรียมดินในแปลงนา
|
AAR หลังเตรียมแปลงเสร็จ
|
เตรียมเมล็ดสำหรับหว่าน
|
ปลูกพืชรอบแปลงนา
|
ภาพชิ้นงาน
|
|
เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วไม่ได้เรียนวันศุกร์ พี่ๆ จึงไม่ได้เรียนตามแผนตรงวัน มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมบ้าง และในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้วิเคราะห์หลักสูตรตามสาระต่างๆ ครูให้การบ้านพี่ๆ ลองเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้โดยจะต้องอธิบายการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มสาระที่พี่ๆ จะต้องเรียนรู้ด้วย พี่ ๆ ได้เลือกเรื่องที่จะเรียนรู้เป็นเรื่องข้าวบ้าง อาหารบ้าง ส่วนใหญ่แล้วจะอยากเรียนรู้เรื่องข้าว ครูจึงตั้งคำถามว่า “ถ้าเราอยากจะเรียนรู้ในเรื่องหลักซึ่งสามารถเชื่อมโยงสู่เรื่องย่อยได้น่าจะเป็นเรื่องอะไรได้บ้าง?” พี่ๆ จึงสรุปกันว่าจะเรียนรู้เรื่องอาหารใน Quarter นี้ และจะได้เชื่อมโยงสู่สุขภาพซึ่งมากับอาหารอีกด้วย หลังจากนั้นเลือกชื่อโดยใช้เครื่องมือคิด Think Pair Share และได้ชื่อหน่วยว่า “อาหารจานเด็ด” ครูตั้งคำถามต่อว่า “ทำไมต้องอาหารจานเด็ด?”
ตอบลบพี่จ๊อบแจ๊บ “มาจากอาหารสุขภาพ ทานแล้วปลอดภัย”
พี่แพรว “มาจากเราผลิตเอง รู้ขั้นตอนการผลิต”
เพื่อนๆ คนอื่นๆ ช่วยเสริม
วันอังคารครูให้พี่ๆ เขียนสิ่งที่ตนเองอยากรู้และรู้แล้วโดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน กลุ่มไหนเขียนเสร็จแล้วมาสรุปความรู้ก่อนเรียนของตนเอง
วันพุธเช้าพี่ๆ สังเกตเมล็ดข้าว และแยกระหว่างข้าวเหนียวและข้าวเจ้าความแตกต่างรวมทั้งสีของข้าว พี่ๆ สามารถแยกข้าวได้ โดยสังเกตสีของข้าวที่แกะเปลือกออก และในช่วงบ่ายพี่ๆ ได้ออกแบบปฏิทิน โดยแบ่งกลุ่มละ 2 คน และมานำเสนอและสรุปร่วมกันในวันพฤหัสบดี (คาบอิสระ) และแบ่งหน้าที่กันเขียนลงในกระดาษแผ่นใหญ่
วันศุกร์ พี่ๆ นัดหมายกันเตรียมดินในแปลงนาสาธิต ซึ่งทุกคนร่วมมือร่วมใจกันจนเสร็จในช่วงเช้า และพูดคุยสนทนาร่วมกันก่อนรับประทานอาหาร ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ความประทับใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ซึ่งวันนี้ตอนที่กำลังเขียนสรุปอยู่นั้นฝนได้ตกลงมาหนักมากทำให้ไม่สามารถลงแปลงได้ต่อ และในช่วงบ่าย (เวลาว่าง) ได้เตรียมแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อทำการหว่านในสัปดาห์หน้า และเขียนสรุปสัปดาห์ที่ 2 อีกทั้งก่อนกลับบ้าน คุณครูและพี่ ๆ ผู้ชาย ได้ปลูกมะละกอบริเวณรอบแปลงนา และขนเศษวัชพืชไปทิ้ง