เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week6


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถกระบวนการทำแป้งและแปรรูปอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) อีกทั้งสามารถนำไปปรับใช้ชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
6
20 -24
มิ.ย.
2559

โจทย์ : สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต(แปรรูป)

Key  Question :
นักเรียนจะแปรรูปอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่างไรให้มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารมากที่สุด?
เครื่องมือคิด :
-     Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
-     Round Rubin แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำเป็นแป้งได้
-     Brainstorm เมนูอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต)
-   BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องเรียนรู้            
-   DAR แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน สิ่งที่ทำอยู่ สิ่งที่ต้องเพิ่มเติม ปัญหาวิธีการแก้ไข            
-   AAR แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มา สิ่งที่ทำดีแล้วและต้องพัฒนาเพิ่มเติม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- อุปกรณ์แปรรูปอาหารและวัตถุดิบเช่น แป้ง น้ำตาล ฯลฯ
- อุปกรณ์การทดสอบสมบัติทางกายภาพของแป้ง เช่น แป้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด น้ำ ถ้วยเล็ก และไม้คน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
วันจันทร์
ชง :
-        ครูทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา
-        ครูและนักเรียนทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของของแป้ง (แป้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียวและแป้งข้าวโพด โดยการสัมผัสเนื้อแป้ง และละลายน้ำ)พร้อมตั้งคำกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าแป้งแต่ละถุงเป็นแป้งอะไรบ้าง เพราะอะไร?”           
เชื่อม : 
-         นักเรียนเดาชื่อแป้งทั้ง 3 ถุง และทดสอบแป้ง
-         ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลการทดลอง 
 ชง :                   
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะทำแป้งได้อย่างไรและแปรรูปแป้งให้มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารมากที่สุด อย่างไรบ้าง?
เชื่อม : 
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่ได้มาออกแบบโจทย์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำแป้งและแปรรูปแป้งเป็นอาหาร)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลให้เพื่อนและคุณครูร่วมตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น
วันอังคาร
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (กระบวนการทำแป้งและแปรรูปแป้งเป็นอาหาร)
ชง : ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-   นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-   นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-   นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-   ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมระดมความคิดเห็น
วันพุธ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
วันศุกร์
เชื่อม :
-    ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ  
-    นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการกิจกรรม
นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร)
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
 - ร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำอาหารจากเมนูคาร์โบไฮเดรตผ่านคลิปวีดีโอ

ชิ้นงาน
- Story board กระบวนการถ่ายทำอาหารแต่ละเมนู
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ผ่านคลิปวีดีโอ
ความรู้
เข้าใจและสามารถกระบวนการทำแป้งและแปรรูปอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) อีกทั้งสามารถนำไปปรับใช้ชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
การทำงานกลุ่มการช่วยเหลือกันเกี่ยวกับวิธีการทำอาหารเมนูคาร์โบไฮเดรตได้หลากหลาย
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการแปรรูปคาร์โบไฮเดรตในรูปแบบต่างๆ
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับวิธีการแปรรูปอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลองในรูปแบบการ์ตูนช่อง
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ภาพกิจกรรม

  ทดสอบคุณสมบัติของแป้ง (แป้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียวและแป้งข้าวโพด)




 ค้นคว้าหาข้อมูลและขั้นตอนการทำแป้งและแปรรูปเป็นอาหาร




ลงมือปฏิบัติ (เปลี่ยนข้าว มัน ให้เป็นแป้ง)




แปรรูปเป็นอาหาร (แป้งมัน-แป้งทอด)







แปรรูปเป็นอาหาร (แป้งข้าวเจ้า-ขนมตาล)







แปรรูปเป็นอาหาร (แป้งข้าวเหนียว-บัวลอย)










ภาพชิ้นงาน











นำเสนองานผ่านวีดีโอ
























1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ม.1 ได้ทดสอบคุณสมบัติของแป้ง โดยครูนำแป้งมา 3 ถุงให้พี่ๆ ลองสัมผัสแล้วบอกว่าเป็นแป้งอะไรบ้าง
    พี่ใบเตย “มีแป้งข้าวเหนียวใช่ไหมคะครู”
    คุณครู “มีแป้งอยู่ 3 ชนิด แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวโพด พี่ๆ ลองเดาว่าหมายเลยใดเป็นแป้งอะไรบ้าง จากการสัมผัสเนื้อแป้ง” หลังจากนั้นครูให้พี่ๆ เทแป้งลงในถ้วยแล้วละลายน้ำ แล้วเดาชื่อแป้งอีกครั้ง และร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    กลุ่มพี่เม “ตอนสัมผัสหมายเลย 1 แป้งข้าวเหนียวเพราะลื่นๆ ค่ะ 2 แป้งข้าวเจ้า เพราะลื่นน้อยกว่า 3 แป้งข้าวโพดค่ะ”
    กลุ่มพี่ตะวัน “เหมือนกันครับผมเดาเอาครับ
    หลังจากพี่ๆ ทดสอบการละลายน้ำ
    กลุ่มพี่แฟ้ม “ครูค่ะหมายเลข 3 แป้งข้าวโพดค่ะเพราะเวลาคนเร็วจะคนยาก แต่คนช้าจะง่าย ส่วนหมายเลข 2 แป้งข้าวเจ้าเพราะไม่เหนียวเหมือนหมายเลข 1 และหมายเลข 1 ปั้นได้ค่ะ
    พี่กลุ่มอื่นๆ ตอบคล้ายๆ กันและส่วนมาจะตอบทั้งการสัมผัสและละลายน้ำ และครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ พี่ๆ จะทำแป้งขึ้นมาได้อย่างไรและเปลี่ยนแป้งให้เป็นอาหารได้อย่างไรบ้าง?”
    พี่ๆ แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ออกแป้งการทำแป้งและอาหารจากแป้ง โดยครูเพิ่มกระบวนการทำงานโดยให้พี่ๆ ส่งงานในรูปแบบคลิปวีดีโอผ่านการใช้ไอแพด
    วันอังคารและวันพุธ พี่ๆ นำวัตถุดิบและอุปกรณ์มาทำแป้ง ได้แก่ ข้าวเหนียว-ขนมบัวลอย ข้าวเจ้า-ขนมตาล และมันสำปะหลัง-แป้งทอด และไปให้พี่ๆ และคุณครูชิมพร้อมกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
    ในวันศุกร์พี่ๆ ส่งคลิปวีดีโอ คุณครูและและเพื่อนๆ ช่วยกันเสนอแนะสิ่งที่ต้องทำเพิ่มในคลิป เช่น การพูดอธิบาย ขั้นตอนการทำงาน ชื่อสมาชิก และการบอกปัญหาและวิธีการแก้ไขของกลุ่มตนเอง

    ตอบลบ