เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week5


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้สารอาหารประเภทแป้ง   (คาร์โบไฮเดรต)   รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในพืช และอาหารประเภทต่างๆ
Week
Input
Process
Output
Outcome
5
13 -17
มิ.ย.
2559

โจทย์ : สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
Key  Questions :
- นักเรียนรู้สึกอย่างไร ในขณะที่อมข้าวไว้ในปาก?
- นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในอาหารได้อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
-    Show and Share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
-    Round Rubin แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหาร
-    Brainstorm ระดมความคิดเกี่ยวกับกระบวนการทดลองสารอาหารประเภทแป้ง
(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- อุปกรณ์ตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
- ภาพ แป้งจากข้าว
- ใบพืชสำหรับการตรวจสอบ อาทิเช่น ใบถั่ว, ใบกล้วย, ใบอัญชัน, ใบข้าว ฯลฯ โดยอยู่ในสภาพ (กลางแจ้ง, ที่มืด) 

จันทร์
ชง :
-     ครูนักเรียนสังเกต และรับประทานอาหารประเภทสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ( ขนมปังและข้าว) โดยใช้เวลาเคี้ยว 32 ครั้ง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร ในขณะที่อมข้าวไว้ในปาก?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในอาหารได้อย่างไร?
เชื่อม : 
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่ได้มาออกแบบโจทย์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต การออกแบบและตรวจสอบ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลให้เพื่อนและคุณครูร่วมตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น
อังคาร
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (อาหารที่ร่างกายเราต้องการในแต่ละวัน)
ชง : ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-     นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-     นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-     นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-     ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พุธ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
ศุกร์ 
เชื่อม :
-    ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้
-    นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง อาทิเช่น ข้าว แป้ง มัน น้ำตาลประเภทต่างๆ ทดลองตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในพืช
- ร่วมสังเกตและบันทึกผลการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของใบพืชแต่ละประเภท ร่วมถึงสถานที่อยู่ของใบพืชนั่นๆ
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง
- สรุปสิ่งที่ได้ตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้แป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในรูปแบบการ์ตูนช่อง

ชิ้นงาน
- ผลการทดลองตรวจสอบคาร์โบไฮเดรต (สร้างชิ้นงานตามความถนัดของผู้เรียน เช่น Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้สารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต)  รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในพืช และอาหารประเภทต่างๆ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
การทำงานกลุ่มการช่วยเหลืองานกันและกันเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในพืชและอาหารอื่นๆ
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในพืชและอาหารอื่นๆ
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้โดยวิธีการทดลอง
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์สารอาหารในพืช
- สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองเกี่ยวกับสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในพืชได้
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลอง
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น



ภาพกิจกรรม

พี่ๆ ชิมระหว่างข้าวและขนมปัง เขียนสิ่งที่เหมือนและแตกต่างจากความรู้สึกและความรู้ที่ได้เรียนรู้ผ่านมา

ถ้านักเรียนจะเรียนรรู้คาร์โบไฮเดรตจะแบบการเรียนรู้อย่างไร เรื่องอะไรบ้าง


นำเสนอ พูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกัน 


ทดลองสารอาหาร (แป้งและน้ำตาล)



นำเสนอความรู้ที่ได้คนคว้ามา และทดลองสารอาหารในต้นพืช





ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์



 ภาพชิ้นงาน

 

 

 





1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ซึ่งคุณครูนำข้าวเหนียวและขนมปังมาให้พี่ๆ ได้ชิมจากนั้นให้พี่ๆ ลองบอกสิ่งที่เหมือนหรือแตกต่างกันของอาหารทั้งสองชนิดนี้
    พี่ตะวัน “ขนมปังหวาน ข้าวไม่หวานครับ”
    พี่ทัศน์ “ข้าวเหนียวๆ แต่ขนมปังนุ่ม”
    พี่แพรว “เป็นสารอาหารคาร์โบไฮเดรตทั้งสองอย่างค่ะ” เพื่อนคนอื่นๆ คิดคล้ายๆ กัน จากนั้นครูให้พี่ๆ ลองออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต โดยแบ่งกลุ่มเขียนแบบ Placemat จากนั้นแต่ละกลุ่มนำเสนองานของตนเอง โดยพี่ๆ แบ่งสิ่งที่จะต้องเรียนรู้เรื่องสารอาหาร “คาร์โบไฮเดรต” ได้ดังนี้
    1. ความหมาย ประเภท และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต
    2. การนำสารอาหารคาร์โบไฮเดรตไปใช้ในร่างกาย
    3. การทดสอบสารอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต
    4. รู้ได้อย่างไรว่าร่างกายขาด หรือมีคาร์โบไฮเดรตเกินความต้องการ
    พี่ๆ แบ่งกันหาความรู้ในแต่ละเรื่อง เพื่อมานำเสนอให้แต่ละกลุ่มฟัง
    วันอังคาร ครูชงด้วยการให้พี่ๆ ได้ทดสอบแป้งและน้ำตาล โดยไม่ได้บอกว่าเป็นอาหารอะไร และให้พี่ๆ ลองทาย และกลุ่มพี่ฝ้ายได้อธิบายเกี่ยวกับการทดลองเนื่องจากได้ค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องนี้มา และพี่ๆ ได้ทำการทดลองและสรุปการทดลองร่วมกันหลังจากนั้นได้หาข้อมูลเพื่อนำเสนอในวันพุธ
    วันพุธพี่ๆ นำเสนอเรื่องที่ได้ค้นคว้ามา เพื่อนๆ ร่วมกันซักถาม หลังจากนำเสนองานของแต่ละกลุ่มเรียบร้อย พี่ๆ ได้ทดลองแป้งและน้ำตาลจากส่วนต่างๆ ของพืช
    วันศุกร์พี่ๆ สนทนาแลกเปลี่ยนทบทวนความรู้ร่วมกันและสัปดาห์นี้ครูให้พี่ๆ สรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์แบบเป็นคู่

    ตอบลบ