เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความต้องการอาหาร
สารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน สามารถจัดหมวดหมู่อาหารและรู้วิธีการตรวจสอบสารอาหารอย่างง่ายได้
อีกทั้งสามารถเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมกับวัยของตนเองได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
3
30 พ.ค.-
3 มิ.ย.
2559
|
โจทย์ : ประเภทของสารอาหาร / วิธีการตรวจสอบสารอาหาร
Key
Questions :
- ในแต่ละวันนักเรียนรับประทานอะไรบ้าง อย่างไร?
- นักเรียนจะรับประทานอาหารในปริมาณเท่าไร
จึงจะเพียงพอต่อความต้องการในร่างกายเรา?
- นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารแต่ละอย่างมีสารอาหารใดบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorm ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่ร่างกายต้องการ
- Show
and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Place
mat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- เมนูอาหาร
- บรรยากาศในชั้นเรียน
|
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตเมนูอาหารมื้อต่างๆ ที่ได้บันทึกมา
เชื่อม :
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่ได้มาออกแบบโจทย์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้
(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารในแต่ละมื้อ สำคัญอย่าไร และปริมาณที่ร่างกายต้องการ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลให้เพื่อนและคุณครูร่วมตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น
วันอังคาร
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (อาหารที่ร่างกายเราต้องการในแต่ละวัน)
ชง :ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-
“นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-
“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-
“นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-
“ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด
Placemat
วันพุธ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
วันศุกร์
เชื่อม :
-
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ
Timeline
-
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน :
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการทดลอง
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่อาหาร
5 หมู่)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความต้องการอาหาร
สารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน สามารถจัดหมวดหมู่อาหารและรู้วิธีการตรวจสอบสารอาหารอย่างง่ายได้ อีกทั้งสามารถเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสมกับวัยของตนเองได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต - มีเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารที่ตนเองรับประทานในแต่ละมื้อ
- ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
(การจัดหมวดหมู่อาหาร)
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับออกแบบการเรียน และสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลอง ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ: - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
ภาพกิจกรรม
เมล็ดข้าวที่แช่น้ำไว้ 2 วัน พร้อมที่จะหว่านในแปลงนา และพี่ๆ ช่วยกันเตรียมแปลงนาเพื่อหว่านข้าวร่วมกัน |
|
|
ภาพชิ้นงาน
ในสัปดาห์นี้ พี่ๆ ได้ชักเยอความคิด “เด็กต้องการโปรตีนมากว่าวัยชราจริงหรือไม่?”
ตอบลบพี่แพรว “จริง เพราะเด็กต้องใช้โปรตีนในการเจริญเติบโต” และคนอื่นๆ ก็ตอบคล้ายๆ กัน จากนั้นครูให้พี่ๆ นำตารางอาหารที่จดบันทึกไว้ในสมุดในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยครูตั้งคำถาม การรับประทานอาหารในมื้อใดของนักเรียนที่ได้คุณค่าทางอาหารครบถ้วน ส่วนมากพี่ๆ จะตอบว่า ถ้าเป็นมื้ออาหารจะไม่ครบ แต่ถ้าเป็นวันครบค่ะ/ครับ พี่ๆ แต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเอง เช่น พี่แฟ้ม “วันที่ 24 รับประทานหมูกระทะ นม เย็นตาโฟ น้ำ ผลไม้ค่ะ” หลังจากนั้นครูให้พี่ๆ ลองออกแบบการเรียนรู้จากคำถาม “เรารู้ได้อย่างไรว่าในแต่ละช่วงวัยจะต้องรับประทานอาหารใดบ้างที่สำคัญ และจะต้องเรียนรู้เรื่องใดบ้าง” โดยวันนี้พี่ๆ ยังคงไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนเองต้องเรียนรู้ ครูจึงยกตัวอย่างให้พี่ๆ ดู เช่น เราจะต้องศึกษาว่าอะไรที่จำเป็นในแต่ละวัย และอาหารที่ต้องรับประทานอยู่ในหมู่อาหารใดบ้าง และจะต้องศึกษาการทดสอบอาหารนั้น ๆ จากนั้นพี่ๆ ได้ค้นหาข้อมูลเพื่อออกแบบการนำเสนอของตนเอง ในช่วงบ่ายของวันพี่ๆ มีกิจกรรมหว่านข้าวในแปลงนา ทุกคนให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
วันอังคารพี่ๆ ยังคงหาข้อมูลและออกแบบการนำเสนอ วันพุธพี่ๆ นำเสนอข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามาให้เพื่อนๆ ฟังและครูตั้งคำถามจากการค้นคว้าหาข้อมูลของพี่ๆ มา ในเรื่องการรับประทานอาหารกับสุขภาพ (โรค) ซึ่งพี่ๆ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมและมาพูดคุยกันในวันศุกร์
วันศุกร์ครูและพี่ๆ สนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ค้นหาเพิ่มเติม โรคและการเลือกรับประทานอาหาร
พี่ใบเตย “โรคเก๊า ไม่ควรรับประทานอาหารจำพวกไก่ค่ะ”
พี่แฟ้ม “โรคเบาหวาน ไม่ควรรับประทานอาหารที่หวานค่ะ”
พี่แจ็บ “โรคไต ไม่ควรรับประทานอาหารที่เค็ม”
หลังจากนั้นพี่ๆ สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์